วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ไพลสรรพคุณดีมาก เป็นยาสมุนไพรไทยรักษาโรค แก้ฟกช้ำ ขับน้ำคาวปลาได้

ไพลสรรพคุณดีมาก เป็นยาสมุนไพรไทยรักษาโรค แก้ฟกช้ำ ขับน้ำคาวปลาได้

ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์  Zingiber montanum  เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกับสังคมไทยมานาน สมุนไพรไทยประเภทหัวเหง้า หมอยาไทยสามารถใช้ได้ทุกส่วนเป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยาอันโดดเด่น เห็นผลที่ดีหลากหลายด้านที่เป็นที่ยอมรับกันมาตั้งแต่อดีต ในประเทศไทยมีการปลูกไพลเหลืองมากกว่าไพลดำที่นิยมประโยชน์ในการปรุงยา





ชื่อในภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ มีหลากหลายชื่อเรียกว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง ในแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน, ว่านไฟ ไพลเหลือง เป็นชื่อภาคกลาง, ชื่อเรียกทางภาคเหนือว่า ปูเลย ปูลอย, และในทางภาคอีสานเรียกว่า ว่านปอบ


ซึ่งมีการใช้ไพลที่เข้าตำรับยา สามารถใช้ได้ทั้งเป็นยาภายนอก แก้อาการฟกช้ำ เคล็ด ขัดยอก บวม  โดยใช้เหง้าแก่สด

การใช้ประโยชน์สำหรับการทำลูกประคบ ทำเป็นน้ำมันที่สกัดไพลเป็นยาที่ถูกใช้ในการนวดรักษามีส่วนประกอบของเมนทอล การบูร น้ำมันงา หรือการผ่านความร้อนโดยการนึ่งประคบเพื่อผ่อนคลายแบบสปา


และแบบชนิดใช้รับประทาน ได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์เป็นตำรับยาที่ใช้เป็นตัวยาตรง และตัวยาเสริมฤทธิ์มากมายหลายตำรับ เช่น การใช้ ไพลหลังคลอด ในยาประสะไพล (แก้ประจำเดือนไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา)

ยาประสะกานพลู (แก้ปวดท้อง เนื่องจากธาตุไม่ปกติ) พิกัดตรีผลธาตุ (แก้ฟกบวมปวดเมื่อย แก้กำเดา บำรุงธาตุไฟ แก้ไข้ตัวร้อน)


และยังใช้เป็นน้ำกระสายยาแก้อาการปวดท้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวยาได้ดีมากขึ้น



ไพลกับขมิ้นต่างกันอย่างไร 
หัวเหง้าแก่ใต้ดิน สีไพลจะออกเหลืองอ่อน ขมิ้นจะออกเป็นสีเหลืองส้มแก่ และมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนกัน
ขมิ้นสามารถใช้เป็นสีผสมอาหารได้อีกด้วย


การปลูกไพลเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจ

ในบ้านเราสามารถปลูกไพลได้เกือบทุกภาค มีการปลูกโดยใช้หัวเหง้า และการแยกหน่ออ่อน จะปลูกได้ดีในดินร่วนดำมีธาตุอาหารที่ครบถ้วน ไม่ชอบพื้นที่น้ำท่วมขังเพราะจะทำให้เกิดการเสียหายกับหัวใต้ดิน การเลือกพื้นที่ปลูกและวิธีการดูแลรักษาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ได้สารวัตถุที่มีสรรพคุณยาที่ดี ไม่ควรใช้สารเคมีในการปลูก จะมีผลที่จะทำให้ไพลราคาดี



การใช้ไพลควรใช้ด้วยความระมัดระวัง การใช้อย่างผิดวิธีอย่างไม่ถูกต้องอาจจะได้รับผลเสียมากกว่าประโยชน์ ให้หลีกเลี่ยงการทานไพลอย่างเดียวติดต่อกันระยะเวลานานๆ ควรเลือกใช้จากยาที่มีการเข้าเป็นตำรับ หรืออยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จะมีความปลอดภัยมากกว่า


อย่างไรก็ตามการใช้สมุนไพรรักษาโรคเป็นทางเลือกของผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์ให้ใช้ยาไทยกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ได้ทดลองหรือผ่านการใช้ยาอย่างถูกวิธีต่างมีความพอใจและชื่นชมกันอย่างมาก เพราะเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูง รู้สึกมั่นใจในตัวยานั่นเอง

ผู้เขียนจะรวบรวมตำรับและสูตรยา ที่ใช้ไพลเป็นส่วนประกอบนำมาแชร์ให้ผู้อ่าน และจะแนะนำการใช้ที่ถูกกับโรคในโอกาสต่อไปนะครับ^^

พบกันในบทความหน้านะครับ
- inew man81


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมุนไพรกับโรค !! เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจโต (ตอนที่1)

สมุนไพรกับโรค !! เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจโต      โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง และโรคหัวใจโต ในปัจจุบันนี้ถือได้ว่าเป็น...